ชีววิทยาของแมลงวัน (Flies)
แมลงวันที่พบมากในประเทศไทย มี 3 สายพันธ์ ได้แก่
1. แมลงวันบ้าน (House Flies) เป็นพาหะนำเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ลำตัวของแมลงวันชนิดนี้ไม่มีสีสะท้อนแสง มีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม พบได้ในทุกจังหวัดของประเทศไทย พบมากในช่วงฤดูร้อน ในคอกสัตว์ที่มีอาหารตกหล่น หรือบริเวณกองอุจาระสัตว์ใกล้คอกจะพบแมลงวันจำนวนมาก วงจรชีวิตมี 4 ระยะคือ
หนอนขึ้นอยู่กับอาหารและอุณหภูมิ ไข่จะฟักภายใน 6 – 12 ชั่วโมง
ระยะตัวหนอน ระยะนี้มี 3 ระยะ ลำตัวประกอบด้วยปล้อง 12 ปล้อง มีการลอกคราบ 2 ครั้ง โดยระยะที่ 1 มีขนาดความยาวประมาณ 3 – 5 มิลลิเมตร และระยะที่ 3 ยาวประมาณ 5 – 13 มิลลิเมตร ตัวหนอนมีลักษณะทรงกลมยาวคล้ายเม็ดข้าวสาร หัวค่อนข้างแบน ส่วนท้ายจะกลม ไม่มีระยางค์ ตัวหนอนระยะที่ 1- 3 จะมีลำตัวค่อนข้างใส ก่อนที่จะเข้า ระยะดักแด้ จะมีสีขาวหรือสีเหลืองเล็กน้อย
ระยะดักแด้ ระยะนี้หากโตเต็มที่จะมีขนาด 6 – 8 มิลลิเมตร คล้ายถังเบียร์ ช่วงระยะดักแด้นาน 14 – 28 วัน
ระยะตัวเต็มวัย แหล่งเพาะพันธ์ (Breeding sites) ได้แก่ มูลสัตว์ เศษอาหารและสิ่งปฎิกูลจากกรรมวิธีผลิตอาหาร อินทรียวัตถุ ได้แก่ ปลาป่น กระดูกป่น ท่อระบายน้ำโสโครกจากบ่อบำบัดน้ำเสีย
แหล่งเกาะพัก (Resting places) แหล่งเกาะพักในเวลากลางวัน ถ้าแหล่งอาหารไม่สมบูรณ์ แมลงวันบ้านจะเกาะพักบนพื้น ผนัง เพดานห้อง ส่วนนอกบ้านจะเป็นรั้วบันได ขยะ กอหญ้า และวัชพืช แต่โดยทั่วไปมักจะเกาะพักอยู่ใกล้กับแหล่งอาหาร เช่น บริเวณ
แหล่งกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ส่วนการเกาะพักในเวลากลางคืน ได้แก่ เพดาน ถ้าอุณหภูมิสูงจะเกาะบริเวณรั้ว ราวตากผ้า สายไฟฟ้า เชือก วัชพืช กอหญ้า ซึ่งเป็นแหล่งเดียวกับเวลากลางวัน
2. แมลงวันหัวเขียว (Blow flies) เป็นแมลงวันที่มีขนาดใหญ่กว่าแมลงวันบ้าน ลำตัวใหญ่ประมาณ 8 – 12 มิลลิเมตร ลำตัวมันวาวสีน้ำเงินเขียว
วงจรชีวิต (Life cycle) ไข่แมลงวันหัวเขียวจะฟักเป็นตัวหนอนภายในระยะเวลา 9 – 10 ชม ที่อุณหภูมิ 24 – 28 องศา และสามารถวางไข่ได้ประมาณ 254 ฟอง ตัวหนอนจะเจริญได้ดี ในอาหารเหลว อาหารที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการเพาะเลี้ยงตัวหนอนของแมลงวันชนิดนี้ คือ อุจจาระเหลว ตัวหนอนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มบริเวณส่วนบนของอาหาร เนื่องจากต้องการ อากาศสำหรับหายใจ ตัวหนอนของแมลงวันชนิดนี้พบมากในมูลของสัตว์ที่กินเนื้อ ส่วนมูลของสัตว์ที่กินพืชจะพบน้อยกว่า เช่น ม้า โค กระบือ เมื่อตัวหนอนเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว มันจะหาบริเวณที่แห้งเพื่อเข้าสู่ระยะดักแด้ และจะเข้าสู่ระยะเต็มวัย
พฤติกรรมการกินอาหาร จะพบแพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ที่มีความชื้นสูงกว่าแมลงวันบ้าน ความยาวของอายุขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้น ตัวเต็มวัยที่ออกจากดักแด้ 8 – 9 วัน จะเริ่มวางไข่ในช่วงเวลาบ่ายมากกว่าช่วงเวลาอื่น
3. แมลงวันหลังลาย (Flesh flies) เป็นแมลงวันที่พบกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศไทย แต่มีความหนาแน่นต่ำ มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่กว่าแมลงวันบ้านและแมลงวันหัวเขียว ลำตัวมีสีเทาเข้มหรือสีเทาอ่อน สาเหตุที่เรียกแมลงวันหลังลาย เนื่องจากปล้องด้านบนมีลายคล้ายตารางหมากรุก
วงจรชีวิต (Life cycle) มีรายงานการศึกษาจากห้องเลี้ยงแมลงด้วยอาหารผสมและเนื้อวัวสดแช่น้ำทีอุณหภุมิ 27 – / + 4 องศา พบว่าใน 1 วัน แมลงวันหลายชนิดจะวางไข่ 1 ครั้ง หรือไม่วางไข่เลย จำนวนไข่ในแต่ละครั้ง 3 – 36 ฟอง และบางครั้งออกลูกเป็นตัว จำนวน 3 – 11 ตัวต่อครั้ง อุณหภูมิจะมีผลต่อน้ำหนักของแมลงวัน พบว่าถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป จะทำให้น้ำหนักของดักแด้ และตัวเต็มวัยน้อยลง และที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปจะทำให้แมลงวันชนิดนี้ตายมากขึ้น ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเติบโตคือ 22 – 28 องศา
พฤติกรรมการกินอาหาร แมลงวันหลังลายแต่ละชนิดจะกินอาหารแตกต่างกันไป บางชนิดชองกินตามมูลสัตว์ และซากสัตว์เน่าเปื่อย หรือระยะที่มีอาหารเน่าเปื่อย บางชนิดขอบกินเนื้อสัตว์ บางชนิดชอบอาหารที่มีรสหวาน และบางชนิดชอบอาหารทะเลหรือผลไม้ตากแห้ง
หลักการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลงวัน
1. ควบคุมโดยวิธีการสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
1.1 ลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน โดย กำจัดขยะมูลฝอย ฝังกลบหรือเผา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และควรปิดฝาขยะมิดชิดทุกครั้ง
1.2 อบรมผู้ประกอบการอาหารในบริเวณร้านขายอาหาร ถึงการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปริมาณแมลงวันในบริเวณดังกล่าว
2. ควบคุมโดยใช้สารเคมี
2.1 ใช้สารเคมีควบคุมหนอนแมลงวันในแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการฉีดน้ำยาเคมีในบริเวณที่คาดว่าจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น บริเวณกองขยะ โดยการฉีดพ่นทุกเดือน
2.2 พ่นสารเคมีตามแหล่งเกาะพัก
2.3 การใช้เหยื่อพิษ โดยการโรยเหยื่อพิษตามแหล่งระบาด หรือมีแมลงวันชุกชุม
2.4 การพ่นสารเคมีแบบฟุ้งกระจาย โดยการใช้เครื่องหมอกควัน
3. ควบคุมโดยวิธีกล
3.1 การใช้มุ้งลวดหรือม่านพลาสติก เพื่อป้องกันและลดความหนาแน่นของแมลง เพื่อให้เข้ามาในพื้นที่น้อยที่สุด
3.2 การใช้ไม้ตีแมลงวัน
3.3 การใช้เครื่องดักแมลง