หนู​เป็น​สัตว์​เลี้ยงลูก​ด้วย​นม​ ​มี​ความ​ฉลาด​ ​ปรับตัว​เข้า​กับ​สภาพแวดล้อม​ได้​ง่าย​ ​เคลื่อนไหว​เร็ว​ ​หลบซ่อนตัวเก่ง​ ​และ​ขยายพันธุ์​ได้​อย่างมีประสิทธิภาพ​​หนูที่พบ​ใน​ประ​เทศไทย​ ​มีประมาณ​ 36 ​ชนิด​ ​แบ่งออก​เป็น​ 4 ​กลุ่ม​ ​ใหญ่ๆ​ ​คือ​

1. ​หนูพุก​ (Rattus Norvegicus) ​ได้​แก่หนู่นอรเวย์​ ​พบ​ทั่ว​โลก​ ​เช่น​ ​หนูท่อ​ ​หนูขยะ​ ​หนูขี้​เรื้อน​ ​เป็น​ต้น​ ​มักอาศัย​อยู่​ตามกองขยะ​ ​ท่อระบายน้ำ​ ​ใต้​ถุนอาคาร​ ​กินอาหาร​ได้​ทั้ง​พืช​และ​สัตว์​ ​ชอบว่ายน้ำ​ ​เป็น​หนูขนาดใหญ๋​ ​จมูกทู่​ ​หู​เล็ก​สั้น​ ​ตัวเมียมี​เต้านม​ 6 ​คู่​ ​หางสั้นกว่าหัว​และ​ลำ​ตัวรวม​กัน​ ​ขนตามลำ​ตัวมีสีน้ำ​ตาล​เท่า​ ​ขยายพันธุ์​ได้​รวด​เร็ว​ ​ออกลูกปีละ​ 4-7 ​ครอก​ ​ครอกหนึ่งมีจำ​นวน​ 8-12 ​ตัว​

2. ​หนูท้องขาว​ (Rattus Rattus) ​พบ​ทั่ว​ไปตามสวน​ ​หรือ​ท้องนา​ใน​ชนบท​ ​ชอบทำ​รังบนต้นไม้​ ​เพดานบ้าน​ ​บางครั้งเรียกว่า​ ​หนูหลังคา​ (Roof Rat) ​เป็น​หนู่ที่ชอบทำ​ลายพืชผลทางการเกษตร​ ​ใน​โรงเก็บ​ ​ชอบกินผลไม้​ ​แมลง​และ​หอย​ ​เป็น​หนู่ขนาดกลาง​ ​รูปร่างเพรียว​ ​ว่องไว​ ​ปราดเปรียว​ ​ขนอ่อนนุ่ม​เป็น​เงา​ ​จมูกแหลม​ ​หู​ใหญ่​ยาว​ ​ตา​โปน​ ​ตัวเมียมี​เต้านม​ 5-6 ​คู่​ ​หาง​จะ​ยาว​เท่า​กังหัว​และ​ลำ​ตัวรวม​กัน​ ​ลำ​ตัวมีสีน้ำ​ตาลอ่อน​ ​หรือ​เหลืองอ่อน​ ​หรือ​เหลืองอ่อนๆ​ ​ขน​ใต้​ท้องสีขาวครีม​ ​ออกลูกปีละ​ 4-6 ​ครอก​ ​ลูกหนึ่งครอกมีจำ​นวน​ 6-8 ​ตัว​

3. ​หนูหริ่ง​ (Mus Musculus) ​บางครั้งเรียกว่า​ House Mouse ​เป็น​หนู่ขนาด​เล็ก​ ​ทำ​รัง​ใน​บ้านเรือนอาศัย​อยู่​ตามลิ้นชักตู้​ ​หรือ​ตามซอกมุม​ ​ใน​ห้องรับแขก​ ​กินอาหาร​ได้​ทุกชนิด​ ​ชอบกินเมล็ดพืช​ ​ข้าว​ ​ขอบกัดกระดาษ​ ​เสื้อผ้า​ ​แทะขอบตู้​เตียง​ ​หรือ​สายไฟ​ ​มีจมูกแหลม​ ​ตัวเมียมี​เต้านม​ 4-5 ​คู่​ ​แล้ว​แต่ละชนิด​ ​หาง​จะ​ยาวว​ ​ขนตามลำ​ตัวมีสีน้ำ​ตาลเทา​ ​ด้าน​ใต้​ท้องสี​เทาอ่อน​ ​ออกลูกปีละประมาณ​ 8-10 ​ครอก​ ​ลูกหนึ่งครอกมีจำ​นวน​ 5-6 ​ตัว​

4. ​หนูจี็ด​ (Rattus Exulans) ​เป็น​ตระกลูของ​ Rattus ​ที่มีขนาด​เล็ก​ ​แต่ตัวโตกว่าหนู่หริ่ง​ ​น้ำ​หนักตัวประมาณ​ 36 ​กรัม​ ​ขนาดลำ​ตัว​และ​หัวยาวประมาณ​ 115 ​มม​. ​หางยาวประมาณ​ 128 ​มม​. ​ตีนหลังยาวประมาณ​ 23 ​มม​. ​ความ​ยาวหูประมาณ​16 ​มม​. ​มี​เต้านมรวม​ 4 ​คู่​ ​อยู่​ที่หน้าอก​ 2 ​คู่​ ​ที่ท้อง​ 2 ​คู่​

​ลักษณะรูปร่างเพรียว​ ​จมูกแหลม​ ​ตา​โต​ ​หู​ใหญ่​ ​ขนด้านหลังสีน้ำ​ตาลมีลักษณะอ่อนนุ่ม​ ​มีขนแข็ง​ (Spine) ​ขึ้นแซมบ้าง​เล็ก​น้อย​ ​ขนด้านท้องสี​เทา​ ​ผิวหางเรียบ​ ​ไม่​มี​เกล็ดมีสีดำ​ตลอด​

​มีถิ่นที่​อยู่​อาศัยตามบ้านเรือน​ ​ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาของอาคาร​ ​บนเพดาน​ ​และ​มี​ความ​สามารถ​ใน​การปีนป่ายเก่งเหมือนหนูท้องขาว​

​กินอาหาร​ได้​ทุกชนิด​ ​ออกหากินตอนกลางคืน​จะ​ส่งเสียงร้อวจี็ดๆ​ ​ให้​ได้​ยิน​ ​การแพร่พันธุ์ตัวเมียออกลูกครั้งละ​ 8-12 ​ตัว​

หลักการป้อง​กัน​และ​กำ​จัดหนู​

​หนู​เป็น​สัตว์ค่อนข้างฉลาด​ ​และ​สามารถ​ปรับตัว​ให้​เข้า​กับ​สิ่งแวดล้อม​ได้​เป็น​อยางดี​ ​ทั้ง​ยัง​แพร่พันธุ์​ได้​รวด​เร็ว​ ​ดัง​นั้น​การหาทางป้อง​กัน​และ​กำ​จัด​ให้​ได้​ผล​ต้อง​มีวิธีการที่​แน่นอนถูก​ต้อง​ตามหลักวิชาการ​ ​และ​ต้อง​ปราบอย่างต่อ​เนื่อง​ ​จึง​สามารถ​จะ​ลดประชากรของหนู่ลง​ได้​ ​โดย​มีหลักการดังนี้​

1. ​ป้อง​กัน​โดย​การปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลบ้านเรือน​ ​เพื่อ​เป็น​การทำ​ลายที่​อยู่​อาศัย​และ​แหล่งอาหารของหนู​ ​โดย​
1.1 ​การ​ใช้​สุขาภิบาลที่ดี​ ​เช่น​ ​รักษา​ความ​สะอาด​ ​ไม่​ให้​มี​เศษอาหารเหลือ​อยู่​ ​ถังขยะ​ต้อง​มีฝาปิดมิดชิด​ ​จัดเก็บสิ่งของ​ให้​เป็น​ระ​เบียบเรียบร้อย​ ​ไม่​ให้​เป็น​ที่หลบอาศัย​
1.2 ​ป้อง​กัน​ไม่​ให้​มี่ช่องทาง​เข้า​ออกสู่อาคาร​ ​เช่น​ ​ต้อง​มีการซ่อมแซม​หรือ​อุดรูรั่ว​ ​หรือ​รู​โหว่ต่างๆ​ ​ไม่​ให้​หนู​เข้า​สู่ภาย​ใน​อาคาร​ได้​

2. ​การปราบหนู​ต้อง​ทำ​อยู่​เป็น​ประจำ​และ​สม่ำ​เสมอ​ ​เพราะ​หนู​เพิ่มจำ​นวนรวด​เร็ว​ ​ถ้า​ไม่​ทำ​เป็น​ประจำ​จะ​ทำ​ให้​ควบคุมยาก​

3. ​การปราบปราม​ต้อง​ร่วมมือ​กัน​ทุกด้าน​ ​เช่น​ ​ทุกบ้าน​จะ​ต้อง​ทำ​การปราบปรามร่วม​กัน​

4. ​พื้นที่​ใน​การปราบปราม​ต้อง​กว้างขวาง​และ​กินบริ​เวณกว้าง​ ​เนื่อง​จาก​หนู่​เคลื่อนย้าย​ได้​รวด​เร็ว​มาก​ ​และ​หากิน​ได้​ใกล​

5. ​การ​ใช้​สารเคมี​ ​โดย​ใช้​เป็น​เหยื่อพิษ​ ​ซื่งมี​ทั้ง​ชนิด​ ​เหยื่อพิษตายช้า​ ​และ​ตาย​เร็ว​

6. ​การ​ใช้​เสียงขับไล่หนู​ ​เช่น​ ​เสียงอัลตราซาวด์​

7. ​การ​ใช้​กับ​ดัก​ ​กาวดัก​ ​หรือ​ ​กรงดัก​

8. ​การควบคุม​โดย​วิธีธรรมชาติ​ ​เช่น​ ​เลี้ยงแมว​ ​งู​ ​หรือ​ ​นกเค้า​แม้ว​ ​หรือ​อืนๆ​