
ชีววิทยาของยุง (Mosquitoes)
ในโลกพบว่ามียุงกว่า 4000 ชนิด แต่ที่พบในประเทศไทยและนำเชื้อมาสู่มนุษย์ ได้แก่
1. ยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำเชื้อ “ไข้เลือดออก” มีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกา ชอบอาศัยอยู่ในบริเาณบ้าน หรือรอบๆ บ้าน แหล่งเพาะพันธุ์ ได้แก่ ภาชนะน้ำขัง ถังซิเมนใส่น้ำ จอนรองขาตู้ ยางรถยนต์เก่าๆ กระป๋อง แจกัน กะลามะพร้าว ฯลฯ ยุงลายมีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ (Complet metamorphosis)แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
ระยะไข่ ยุงลานจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ติดไว้ที่ผนังด้านในเหนือระดับน้ำบริเวณที่ชื้นๆ ไข่ใหม่มีสีขาว ต่อมาประมาณ 12 – 24 ชม จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ระยะฟักตัวในไข่ประมาณ 2 – 4 วัน ในสภาพความชื้นสูงและอุณหภูมิประมาณ 28 – 30 องศา สามารถอยู่ในที่แห้งได้นานเป็นปี เมื่อระดับน้ำท่วมไข่จึงฟักตัวเป็นลูกน้ำ
ระยะลูกน้ำ ระยะนี้ จะลอกคราบ 4 ครั้ง โดยใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 7 – 10 วัน
ระยะตัวโม่ง ระยะนี้ตัวจะโค้งงอ ไม่มีการกินอาหาร ชอบลอยติดกับผิวน้ำใช้เวลา 1 – 2 วัน จึงลอกคราบออกเป็นตัวเต็มวัย
ระยะตัวเต็มวัย เริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายประมาณ 24 ชม ตัวเมียผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว แต่งางไข่ได้หลายครั้ง แต่ตัวผู้ผสมพันะธุ์ได้หลายสิบครั้งในหนึ่งชม หลังจากนั้นตัวเมียจะออกกินเลือด ยุงลายชอบกินเลือดคน และหากินในเวลากลางวัน บางครั้งยุงลายอาจกัดคนในเวลากลางคืนแต่เป็นภาวะจำเป็น เช่น ไม่มีเหยื่อในเวลากลางวัน หลังจากกินเลือดอิ่ม ยุงตัวเมียจะไปเกาะพักรอให้ไข่เจริญเติบโต ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 วัน แหล่งเกาะพักยุงลายได้แก่ บริเวณที่มืด อับลม ในห้องน้ำ ในบ้าน โดยเฉพาะตาม สิ่งห้อยแขวนภายในบ้าน หลังจากไข่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะบินไปหาที่วางไข่ ชอบที่ร่ม น้ำที่มีใบไม้ร่วงและมีสีน้ำตาลอ่อนๆ จะกระตุ้นการวางไข่ได้ดี แต่ยุงลายไม่ชอบน้ำ ที่มีกลิ่นเหม็น
2. ยุงรำคาญ มักชอบวางไข่เป็นแพในบริเวณน้ำโสโครก ไข่แพหนึ่งๆ มีประมาณ 200 – 250 ฟอง ไข่จะฟักตัวภายใน 30ชม ออกหากินกลางคืน ชอบกินเลือดคน
หลักการควบคุมป้องกันและกำจัดยุง
1. ควบคุมโดยการใช้สารเคมี
1.1 ใช้สารเคมีควบคุมกำจัดลูกน้ำ ตามแหล่งเพาะพันธุ์
1.2 พ่นสารเคมีตามแหล่งเกาะพัก
1.3 การพ่นสารเคมีแบบฟุ้งกระจาย โดยการใช้เครื่องหมอกควัน